เงินบริจาคของคุณจะส่งต่อกำลังใจและวิธีรับมือกับมะเร็งเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยมะเร็งไทยกว่า20,000ราย
อาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บายไอรีล ภายใต้บริษัท อาร์ต ออฟ ไลฟ์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ได้ส่งมอบแนวทางในการรับมือกับโรคมะเร็งผ่าน “ยากำลังใจ” ในโครงการยากำลังใจ ให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแล จำนวน 20,000 รายทั่วประเทศ ผ่าน 37 โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ
นอกจากนี้ยังมีสื่อความรู้และกำลังใจ จากการแชร์ประสบการณ์ตรงจากผู้ป่วยมะเร็ง และอดีตผู้ป่วยมะเร็ง รวมถึงวีดิโอสาธิตการทำ 7 เมนู สุขภาพเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งมีกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ดูแล และผู้ประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ผ่านกิจกรรมของโครงการยากำลังใจ มากกว่า 1,275,101 คนทั่วประเทศ
ซึ่งออย ไอรีล ไตรสารศรี ผู้ก่อตั้งอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บายไอรีล และเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 กล่าวว่า
“ โครงการยากำลังใจปี 2566 ถือได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นอย่างมาก ที่เราต้องการให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล ได้เรียนรู้แนวทางและเทคนิคในการรับมือกับโรคมะเร็ง ด้วยความหวังและทัศนคติเชิงบวกควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์ โดยทางอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บายไอรีล ยังคงมุ่งหวังที่จะได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐและภาคเอกชน ในการสนับสนุนต่อยอดในการขับเคลื่อนกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และโครงการอื่นๆ ที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยมะเร็ง ไทยในอนาคตอย่างยั่งยืน ”
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
ผู้ป่วย | ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแล ทั่วประเทศไทย |
20,000 ราย | ได้เรียนรู้แนวทางและเทคนิคในการรับมือกับโรคมะเร็งด้วยความหวัง และทัศนคติเชิงบวกควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์ |
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ทางโครงการได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการยากำลังใจ เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์โครงการ ในการส่งมอบยาเม็ดแรกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผ่านข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง รวมถึงแนวทางในการปฎิบัติตัวของผู้ป่วยมะเร็งในช่วงก่อนเข้ารับการรักษา ในรูปแบบสื่อสร้างสรรค์ที่ชื่อว่า “ยากำลังใจ” ที่ Glowfish Hall 3 สาทรธานี
โดยสื่อความรู้นี้จะถูกส่งต่อไปยังกว่า 30 โรงพยาบาลรัฐที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแล จำนวน 20,000 รายทั่วประเทศ ได้เสริมสร้างกำลังใจที่ดี เพิ่มเติมองค์ความความรู้เกี่ยวกับโรค เพื่อจะได้นำไปปรับใช้และปฎิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่ไปกับการรักษา และเพิ่มโอกาสอัตราการรอดชีวิตให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งไทย
ทั้งนี้มีพันธมิตรเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ ได้แก่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถานวิทยามะเร็งศิริราช ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง อีกทั้งยังมีตัวแทนจากทางภาคเอกชนและภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมให้โครงการได้ลุล่วงวัตถุประสงค์อีกมากมาย อาทิ เชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ รมิดา ประภาสโนบล และอนุชิต คำน้อย
ซึ่งโครงการยังต้องการความสนับสนุนในการส่งต่อชุดยากำลังใจให้ครบตามเป้าหมายจำนวน 20,000 ชุดให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลทั่วประเทศ