cover_1
ใกล้ถึงเป้าหมาย
+1

ทุนการศึกษาเพื่อนักเรียนชาวเขา

เงินบริจาคของคุณจะร่วมส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาให้กับนักเรียนชาวเขาและนักเรียนด้อยโอกาส8ทุน

ระยะเวลาระดมทุน

24 ม.ค. 2566 - 30 ก.ย. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ต.ห้วยแก้ว อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ 50130 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180 ต.ในเมือง อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก 65000 ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา 56000 ต.ช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50300 ต.ปางหมู อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน 58000 ต.ชมพู อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง 52100

เป้าหมาย SDGs

QUALITY EDUCATIONREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
8คน

ร่วมส่งเสริมการศึกษาและพัฒนานักเรียนชาวเขาและนักเรียนด้อยโอกาส

ให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาตามที่ฝันได้ เพื่อเขาจะเติบโตบนเส้นทางการประกอบสัมมาอาชีพ พร้อมตอบแทนสังคมด้วยการเป็นต้นแบบที่ดีให้คนรุ่นต่อไป

ปัญหาสังคม

 

"ครูแบงค์" อภิชัย ไชยวินิจ เริ่มเข้าไปทำงานในพื้นที่โดยเป็นครูอาสาสอนเด็กชาวเขาเมื่อปี 2010 ณ โรงเรียนในกลุ่มศึกษาสงเคราะห์ พบปัญหา 2 ประการที่สำคัญ

หนึ่ง : นักเรียนไม่กล้าฝัน ว่าอยากเป็นอะไรในอนาคต ไม่กล้าฝันว่าถึงการเรียนสูง เพราะเป็นคนต้นทุนต่ำ ได้มีโอกาสเรียนถึง ม. 6 ที่โรงเรียนกินนอนก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว เพราะยังมีเด็กชาวเขาอีกหลายคนที่ไม่มีโอกาสมาเรียนเหมือนพวกเขาเลยด้วยซ้ำ

สอง : นักเรียนขาดทุนการศึกษา  แม้นบางคนอยากเรียนถึงปริญญาตรี แต่พวกเขาขาดทุนทรัพย์  มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ปกครองของนักเรียนชาวเขาซึ่งทำงานรับจ้างหรือเป็นเกษตรกรอยู่บนดอยจะส่งเสียให้พวกเขาได้เรียนจนจบ

 
มูลนิธิการศึกษาเพื่อนักเรียนชาวเขา  จึงตัดตั้งเพื่อส่งเสริมการศึกษาและพัฒนานักเรียนชาวเขาและนักเรียนด้อยโอกาส ให้สามารถเรียนจบระดับอุดมศึกษาตามที่ตนฝันไว้ ทุนนี้เป็นทุนแบบให้เปล่าไม่ต้องใช้คืน ระหว่างการรับทุนนักเรียนจักได้รับการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำเพื่อให้สามารถกลับไปเป็นบุคคลต้นแบบ (Role Model) และส่งผลให้พวกเขาสามารถกลับไปสร้างแรงบันดาลใจและให้ความรู้กับนักเรียนชาวเขารุ่นในโรงเรียนกลุ่มศึกษาสงเคราะห์ ต่อ ๆ ไปเพื่อให้พวกเขาสามารถเรียนรู้ เติบโต และประกอบสัมมาอาชีพได้อย่างเต็มภาคภูมิ 
 

ตั้งแต่ปี 2014 มูลนิธิฯ ได้สนับสนุนนักเรียนทุนกว่า 47 คนให้มีโอกาสเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำ (อาทิ ม.เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ฯลฯ) ในจำนวนนี้มีนักเรียนทุน 16 คนที่จำการศึกษาและออกไปทำงานตามที่ตนฝัน (อาทิ ครู พยาบาล นักวิชาการการเกษตร) ในชุมชนของตน

  • ปัจจุบันทางมูลนิธิฯ รับสมัครนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนในเครือศึกษาสงเคราะห์ทางภาคเหนือ ได้แก่ 
    (1) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
    (2) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
    (3) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    (4) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีฯ จังหวัดลำปาง
    โดยในปี 2566 จะมีการขยายพื้นที่การรับสมัครไปยังโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน จังหวัดเชียงราย

ทุนการศึกษากับนักเรียนโดยแบ่งออกเป็นทุน 2 ประเภท ดังนี้

  1. ทุนนักเรียนเรียนดี ไม่จำกัดจำนวนทุนต่อโรงเรียน
  2. ทุนนักเรียนประพฤติดี จำนวน 1 ทุนต่อโรงเรียน

คุณสมบัติของผู้สมัคร 

  1. มีความประพฤติดี มีจิตอาสา ช่วยเหลือโรงเรียนสังคม และชุมชนชาวเขาของตน 
  2. มีความเป็นผู้นำและสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้สู่รุ่นน้องร่วมสถาบันได้ โดยผู้ได้รับทุนจะต้องกลับมาเข้าร่วมสัมมนาประจำปีให้กับนักเรียนชาวเขารุ่นน้องที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อให้นักเรียนรุ่นน้องเชื่อว่าพวกเขาก็สามารถทำได้เหมือนรุ่นพี่
  3. มีผลการเรียนดีมีเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 5 ภาคเรียน ตั้งแต่ ม.4 เทอม 1 - ม.6 เทอม 1 ดังนี้
         3.1 ทุนเรียนดี 3.00
         3.2 ทุนเด็กดี 2.50
  4. มีความสามารถทางวิชาการจนสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของรัฐ อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี (สำหรับทุนเรียนดีเท่านั้น)

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ให้ทุนการศึกษากับนักเรียนชาวเขา โดยแบ่งออกเป็นทุน 2 ประเภท ดังนี้ • ทุนนักเรียนเรียนดี ไม่จำกัดจำนวนทุนต่อโรงเรียน • ทุนนักเรียนประพฤติดี จำนวน 1 ทุนต่อโรงเรียน

แผนการดำเนินงาน

  1. สนับสนุนทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี กับนักเรียนโดยแบ่งออกเป็นทุน 2 ประเภท ดังนี้ • ทุนนักเรียนเรียนดี ไม่จำกัดจำนวนทุนต่อโรงเรียน • ทุนนักเรียนประพฤติดี จำนวน 1 ทุนต่อโรงเรียน

  2. จัดค่ายสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ (3 วัน 2 คืน) นำทีมโดยครูอาสาจากสถาบันหรือบริษัทต่างๆ ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ผ่านมา เช่น กิจกรรมพัฒนาทักษะการนำเสนองาน (Presentation Skills)

  3. จัดค่ายแนะแนวการศึกษาและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนชาวเขา (3 วัน 2 คืน) เพื่อให้นักเรียนในมูลนิธิฯ ได้ส่งต่อความฝัน แรงบันดาลใจ และแนวทางในการศึกษาต่อ

  4. ติดตามผลการเรียน เมื่อนักเรียนผ่านการคัดเลือกและได้รับทุนการศึกษาเพื่อเรียนในระดับอุดมศึกษาแล้ว ในทุกๆภาคเรียน นักเรียนจะต้องรายงานผลการเรียนต่อมูลนิธิฯโดยส่งเอกสาร ดังนี้ 3.1 ผลการเรียน โดยจะต้องไม่ต่ำกว่า 2.75 ในทุกภาคการศึกษา 3.2 ใบรับรองการเรียนและความประพฤติจากอาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อเจ้าหน้าที่ประสานงานมูลนิธิฯตรวจสอบแล้ว จะดำเนินการชำระค่าเทอมในภาคการศึกษาถัดไป

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี จำนวน 8 ทุน ทุนละ 109,560 บาท

ค่าธรรมเนียมการศึกษาของนักเรียนแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับคณะที่นักเรียนเลือกเรียน เช่น คณะพยาบาลศาสตร์ มีค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยเฉลี่ยเทอมละ 12,000 บาท คณะครุศาสตร์ มีค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยเฉลี่ยเทอมละ 7,400 บาท เป็นต้น *** มูลนิธิฯ ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาให้นักเรียนในแต่ละเทอมเฉลี่ย 9,130 บาท ทั้งสิ้น 12 เทอม (รวมภาคฤดูร้อน) รวม 109,560 บาท โดยทางมูลนิธิฯ มีการควบคุมค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษาไม่ให้เกินจากงบประมาณที่วางแผนไว้ ---- มูลนิธิฯ ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยตรงกับทางมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2566 ไปจนถึงภาคเรียนที่ 3 ของปีการศึกษา 2569

8คน876,480.00
ค่ายสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ (3 วัน 2 คืน)

ค่าใช้จ่ายตลอด 4 ปี จำนวน 8 คน คนละ 5,220 บาท (คนละ 1,305 บาท/ปี) ---- มูลนิธิฯ จัดค่ายสัมมนานักเรียนทุกๆปี เพื่อให้นักเรียนในมูลนิธิฯ ได้พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ นำทีมโดยครูอาสาจากสถาบันหรือบริษัทต่างๆ ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ผ่านมา เช่น กิจกรรมพัฒนาทักษะการนำเสนองาน (Presentation Skills) ---- ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในค่ายฯ ได้แก่ (1) ค่าที่พักนักเรียนและห้องประชุมสำหรับทำกิจกรรม (2) ค่าอาหารและเครื่องดื่ม (3) ค่าอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมพัฒนาทักษะ (4) ค่าอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมสันทนาการ (5) ค่าเดินทาง

8คน41,760.00
ค่ายแนะแนวการศึกษาและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนชาวเขา (3 วัน 2 คืน)

ค่าใช้จ่ายตลอด 4 ปี จำนวน 8 คน คนละ 5,220 บาท (คนละ 1,305 บาท/ปี) ---- มูลนิธิฯ จัดค่ายแนะแนวการศึกษาและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนชาวเขาเป็นประจำทุกปี เพื่อให้นักเรียนในมูลนิธิฯ ได้ส่งต่อความฝัน แรงบันดาลใจ และแนวทางในการศึกษาต่อ ---- ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในค่าย ได้แก่ (1) ค่าที่พักนักเรียน (2) ค่าอาหารและเครื่องดื่ม (3) ค่าเดินทาง

8คน41,760.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด960,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)96,000.00
ยอดระดมทุน
1,056,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ครูแบงค์เริ่มเข้าไปทำงานในพื้นที่โดยเป็นครูอาสาสอนเด็กชาวเขาเมื่อปี 2553 ณ โรงเรียนในกลุ่ม ศส. กลุ่มปัญหา 3 ประการที่ครูแบงค์พบระหว่างที่ตนเป็นครูอาสากว่าหนึ่งทศวรรษมีดังนี้ (1) นักเรียนไม่กล้าฝัน ส่วนใหญ่ไม่เคยคิดวาดฝันว่าตนอยากเป็นอะไรในอนาคต ไม่คิดว่าตนเองจะเรียนอะไรได้สูงนัก คิดว่าตนเองนั้นต้นทุนต่ำคงสู้นักเรียนในเมืองไม่ได้ การได้มีโอกาสเรียนถึง ม. 6 ที่โรงเรียนกินนอนแห่งนี้ก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว เพราะยังมีเด็กชาวเขาอีกหลายคนที่ไม่มีโอกาสมาเรียนเหมือนพวกเขาเลยด้วยซ้ำ (2) นักเรียนขาดทุนการศึกษา หลายคนมีข้อกังขาว่า แม้นเขากล้าฝัน ขยันเรียนไป และเอนท์ติด พวกเขาก็อาจจะไม่มีโอกาสเรียนได้อยู่ดีเพราะขาดทุนทรัพย์ ปัจจุบันรัฐไม่ได้ส่งเสริมให้ทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ปกครองของนักเรียนชาวเขาซึ่งทำงานรับจ้างหรือเป็นเกษตรกรอยู่บนดอยจะส่งเสียให้พวกเขาได้เรียนจนจบ (3) ผู้นำโรงเรียนและครูขาดการส่งเสริมและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ งานวิจัยบ่งชี้ว่า งบประมาณในการพัฒนาผู้นำและบุคลากรจาก ศธ. มีไม่เพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นหลักสูตรพัฒนาบุคลากรของ ศธ. ที่มีนั้นมีคุณภาพไม่พอต่อความต้องการของนักเรียนชาวเขาและบริบทางสังคมในพื้นที่ภาคเหนือ พันธกิจของมูลนิธิฯ: ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนา (1) นักเรียนชาวเขาและนักเรียนด้อยโอกาสให้เป็นบุคคลต้นแบบแก่เด็กนักเรียนด้อยโอกาส (2) ครู ผู้นำโรงเรียน และบุคลากรการศึกษาที่ทำงานให้นักเรียนชาวเขาและนักเรียนด้อยโอกาสในเขตภาคเหนือ วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ: (1) ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาให้แก่นักเรียนด้อยโอกาสที่อาศัยในเขตพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทยและเด็กด้อยโอกาสทั่วไป ผ่านการให้ทุนการศึกษาและออกค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต (2) สนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการศึกต่อแก่นักเรียนด้อยโอกาส (3) พัฒนาการเรียนการสอนในและนอกโรงเรียนสำหรับเด็กด้อยโอกาสให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (4) พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กด้อยโอกาสให้มีศักยภาพมากขึ้น รวมทั้งจัดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้บริหาร ครู และนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชาวเขาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน ที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 59, 60, 61, 62 และโรงเรียน ศส. จิตอารีฯ

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon