cover_1
โครงการใหม่

พัฒนาผู้สูงวัย เสริมสร้างศักยภาพใหม่ สู่การทำงานในโลกดิจิทัล

เงินบริจาคของคุณจะนำไปพัฒนาทักษะดิจิทัล ปั้นและเตรียมความพร้อมสู่การทำงานยุคดิจิทัลให้กับผู้สูงอายุ15คน

ระยะเวลาระดมทุน

1 พ.ย. 2567 - 31 ธ.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYGOOD HEALTH AND WELL-BEINGQUALITY EDUCATIONDECENT WORK AND ECONOMIC GROWTHREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้สูงอายุ
15คน

เพราะเรามุ่งหวังให้ผู้สูงวัยกลับมาโลดแล่นในโลกของการทำงานได้อย่างมั่นใจ พร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่ทุกวัยสามารถมีบทบาทและเติบโตไปพร้อมกัน  สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย จึงจัดทำโครงการพัฒนาผู้สูงวัย เสริมสร้างศักยภาพใหม่ สู่การทำงานในโลกดิจิทัลเพื่อสร้างความพร้อมและพัฒนาทักษะดิจิทัล (upskill and reskill) ในการเตรียมพร้อมสู่การทำงานในยุคดิจิทัล ให้ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพได้เข้าถึงการฝึกทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ 

โดยโครงการนี้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นผู้บริหารระบบรับรองหลักสูตร ขณะที่สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย จะเป็นตัวกลางเชื่อมตลาดงานให้กับผู้สูงอายุกับบริษัทนายจ้าง 

ปัญหาสังคม

ผู้สูงอายุไทยไม่มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีวิต โดยครึ่งหนึ่งของคนทำงานสูงวัยมีรายได้เฉลี่ยเพียง 5,500 บาทต่อเดือน ในขณะที่จำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อการบริโภคด้านต่าง ๆ 12,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์การดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยพบว่า ยังมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ยังมีศักยภาพและประสงค์ทำงานต่อไป แต่ขาดเงินทุนในการพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล ดังนั้น จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การจ้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ อยู่รอดได้ในบริบทสังคมยุคดิจิทัล โดยดำเนินการนำร่องเป็นต้นแบบแรงบันดาลใจให้กลุ่มนายจ้างรายอื่น ๆ ต่อไป

วิธีการแก้ปัญหา

  1. จัดโครงการโดยมีการประสานกลุ่มนายจ้างเพื่อให้ทราบถึงความเป็นไปได้ในการจ้างงานผู้สูงอายุ รับสมัครและสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้สูงอายุที่มีความพร้อมและประสงค์ทำงานเข้ามารับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล และทักษะที่จำเป็นในการทำงานยุคดิจิทัล มีการบริหารจัดการระบบให้คำปรึกษาเพื่อขับเคลื่อนการจับคู่ระหว่างผู้ผ่านการพัฒนาทักษะกับบริษัทนายจ้างจนกระทั่งเกิดการจ้างงานได้เป็นผลสำเร็จ และติดตามให้ความช่วยเหลือเชิงให้คำปรึกษาการปรับตัวภายหลังเกิดการจ้างงาน

แผนการดำเนินงาน

  1. ม.ค. 2568

    พัฒนาหลักสูตรให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้โดยเท่าเทียมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานยุคดิจิทัล

  2. ม.ค. - ก.พ. 2568

    ประชาสัมพันธ์รับสมัคร และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม มีความพร้อม และประสงค์ทำงาน

  3. มี.ค. - เม.ย. 2568

    จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และประเมินผลผู้ผ่านการพัฒนาทักษะ

  4. เม.ย. - พ.ค. 2568

    จัดทำระบบให้คำปรึกษาเพื่อขับเคลื่อนการจับคู่ผู้ผ่านการพัฒนาทักษะกับบริษัทนายจ้าง จนนำไปสู่การจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงการจ้างงาน

  5. พ.ค. 2568

    รายงานผลการดำเนินโครงการ สำหรับนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยให้ยั่งยืนต่อไป

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าพัฒนาทักษะให้ผู้สูงอายุ และค่าบริหารจัดการระบบให้คำปรึกษาเพื่อขับเคลื่อนการจับคู่ผู้ผ่านการพัฒนาทักษะกับบริษัทนายจ้าง จำนวน 15 คน เฉลี่ยคนละ 10,000 บาท (ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป)

หมายเหตุ: นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดารายใดบริจาคตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ได้รับสิทธิ ในการส่งชื่อผู้สูงอายุ เข้ารับการพัฒนาทักษะ จำนวน 1 คน โดยสามารถส่งชื่อของตนเองได้ โดยผู้ดำเนินโครงการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกผู้เข้ารับการพัฒนาทักษะตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ดำเนินโครงการกำหนด เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการจ้างงานให้เป็นผลสำเร็จได้ต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ dqs@depa.or.th

15คน150,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด150,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)15,000.00
ยอดระดมทุน
165,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

- สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ 1. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 2. ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนหรือประกอบกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมดิจิทัล 3. ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกับบุคคลอื่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมดิจิทัล 4. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล 5. เสนอแนะ เร่งรัด และติดตามการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบหรือมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมดิจิทัลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการกำกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลมอบหมาย หรือตามที่กฎหมายกำหนด - สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทย และเกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง โดยมีภารกิจดังนี้ 1. สร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการไทยมีความสามารถในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ (Empower Thai Online Sellers) 2. ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกันของผู้ประกอบการค้าออนไลน์ในประเทศและที่มาจากต่างประเทศ (Fair Competition in Thailand Ecommerce Market) 3. ส่งเสริมให้เกิดการค้าออนไลน์ออกนอกประเทศให้เติบโตไปสู่ระดับโลก (Drive Cross Border E-commere Selling to the World)

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon